ค้นเจอ 330 รายการ

ข่า

หมายถึงน. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคำหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).

เชน

หมายถึงน. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ศาสดาชื่อมหาวีระ มี ๒ นิกายคือ นิกายทิคัมพร และ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาทางศาสนา ถือมั่นในหลักอหิงสาและมังสวิรัติ, ชิน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส. ไชน).

อาราธนาพระปริตร

หมายถึงก. ขอนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดมนต์ โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า วิปตฺติปฏิพาหาย ... ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ.

รากศัพท์

หมายถึงน. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุ เช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

นฤ

หมายถึง[นะรึ-] ว. ไม่มี, ออก, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น นฤมล ว่า ไม่มีมลทิน, นฤโฆษ ว่า ดังออก. (คำนี้เขียนแผลงมาจาก นิ ในบาลี ซึ่งสันสกฤต เป็น นิสฺ).

คู่สายโทรศัพท์

หมายถึงน. สายที่ใช้ประกอบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ๒ เส้น ต่อจากห้องเครื่องชุมสายโทรศัพท์ไปยังบ้านผู้ใช้โทรศัพท์, คู่สาย ก็ว่า.

นฤ-

หมายถึง[นะรึ-] ว. ไม่มี, ออก, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น นฤมล ว่า ไม่มีมลทิน, นฤโฆษ ว่า ดังออก. (คำนี้เขียนแผลงมาจาก นิ ในบาลี ซึ่งสันสกฤต เป็น นิสฺ).

ราชบัณฑิต

หมายถึง[-บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.

จตุร,จตุร-

หมายถึง[จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).

เขียนไทย

หมายถึงน. วิชาเขียนภาษาไทยตามคำบอกของครู เพื่อฝึกเขียนตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้อง, เขียนตามคำบอก ก็ว่า.

หีนยาน

หมายถึง[หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ