ค้นเจอ 371 รายการ

ศิลปศาสตร์

หมายถึงน. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.

ศิลปะสถาปัตยกรรม

หมายถึงน. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.

ศิษฎิ

หมายถึง[สิดสะดิ] น. การสอน. (ส. ศิษฺฏิ ว่า การปกครอง, การลงโทษ).

ศิษย์มีครู

หมายถึง(สำ) น. คนเก่งที่มีครูเก่ง.

ศีขริน,ศีขรี

หมายถึง[สีขะ-] น. ศิขริน, ศิขรี.

ศีรษะเนื้อ

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส ดาวมิคสิระ หรือดาวอาครหายณี ก็เรียก.

ศีล

หมายถึง[สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม); พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).

ศีลธรรม

หมายถึง[สีนทำ, สีนละทำ] น. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ศีลและธรรม, ธรรมในระดับศีล.

ศึกษาธิการ

หมายถึงน. เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมเกี่ยวกับการศึกษาระดับอำเภอ จังหวัด และเขตการศึกษา เรียกว่า ศึกษาธิการอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการเขต, ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม.

ศุกรวรรณ

หมายถึง[สุกกฺระวัน] ว. มีสีสด. (ส. ศุกฺรวรฺณ).

ศุภกร

หมายถึงว. ที่ทำความเจริญ, ที่เป็นมงคล. (ส.).

ศุภร,ศุภร-

หมายถึง[สุบพฺระ-] ว. ส่องแสง, สว่าง; งาม, สดใส; ขาว, ผ่อง; บริสุทธิ์ไม่มีตำหนิ เช่น ศุภรทนต์ คือฟันงาม. (ส. ศุภฺร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ