ค้นเจอ 73 รายการ

ส่งสัมผัส

หมายถึงก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปว่า คำส่งสัมผัส.

จุลภาค

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ , สำหรับคั่นวรรคตอนของข้อความ, จุดลูกนํ้า ก็เรียก; ภาคเล็ก.

ร่ายโบราณ

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง นิยมใช้ในวรรณคดีโบราณ ไม่นิยมเอกโท ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่มักใช้วรรคละ ๕ คำและใช้คำเท่ากันทุกวรรค.

สัมผัสใน

หมายถึงน. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มิได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร เช่น เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา. (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวมถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข. (ตะเลงพ่าย).

ร่ายยาว

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายร่ายโบราณ ใช้แต่งบทเทศน์ บทสวด บทกล่อมลูก เป็นต้น ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่ละวรรคไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ นิยมส่งสัมผัสส่งท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสในวรรคถัดไปที่คำใดก็ได้ สัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ.

สาลินี

หมายถึงน. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๑ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ เป็นครุล้วน วรรคหลังมี ๖ คำ คำที่ ๑ และคำที่ ๔ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ

มหัพภาค

หมายถึง[มะหับพาก] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ .; ภาคใหญ่.

อัศเจรีย์

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ! สำหรับเขียนกำกับไว้หลังคำอุทาน.

ร่ายดั้น

หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งใช้ตั้งแต่ ๕-๗ คำ และจะต้องจบด้วยบาทที่ ๓ และที่ ๔ ของโคลงดั้นวิวิธมาลี นอกนั้นเหมือนร่ายสุภาพ.

กระจายนะมณฑล

หมายถึง(โบ) น. ชื่อกลบท วรรคต้นใช้อักษรสูงนำหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรตํ่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กำจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา. (ชุมนุมตำรากลอน)

พรรคานต์

หมายถึง[พักคาน] น. ตัวอักษรที่สุดวรรค คือ ง ญ ณ น ม.

กลอนบทละคร

หมายถึงน. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้องขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ