ค้นเจอ 319 รายการ

สำหรวด

หมายถึงน. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาสำหรวด.

หางกระรอก

หมายถึงน. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียวเสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก เรียกว่า ผ้าหางกระรอก.

ดุน

หมายถึงก. รุน, ทำให้เคลื่อนไปเรื่อย ๆ ด้วยแรงดัน; ทำให้ลวดลายบางอย่างนูนขึ้น เช่น ดุนลาย. ว. เรียกลวดลายที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ลายดุน.

บัวกลุ่ม

หมายถึงน. ลายปูนหรือลายแกะไม้ที่ทำเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้มร้อยกันเป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์หรือปลายเครื่องบนของปราสาท.

ฟันปลา

หมายถึงน. เรียกสิ่งที่มีรูปอย่างฟันปลา, เรียกลักษณะที่สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลาว่า สลับฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา; ลายคดกริช รูปดังนี้ (รูปภาพ) เรียก ลายฟันปลา, ลายฟันเลื่อย ก็เรียก.

เปศัสการิน,เปศัสการี

หมายถึงน. ต่อแตน; หญิงผู้ปักลายเสื้อผ้า. (ส.).

ผ้าตา

หมายถึงน. ผ้านุ่งชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมมีลายเป็นตา ๆ.

ผ้ายก

หมายถึงน. ผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้น.

เกล็ดนาค

หมายถึงน. ชื่อลายมีรูปเป็นครึ่งวงกลมซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา.

กรวยเชิง

หมายถึงน. ลายที่ทำเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.

ไข่ปลา

หมายถึงน. จุดที่เรียงกันเป็นเส้น, ลายที่มีจุดเล็ก ๆ เป็นเส้นหรือเป็นกลุ่ม.

เรข,เรขา

หมายถึงก. เขียน. ว. ดังเขียน, งาม. (ป., ส. เรขา ว่า ลาย, เส้น).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ