ค้นเจอ 171 รายการ

เพลงเสมอ

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.

ร่าย

หมายถึงน. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ; ทำนองร้องอย่างหนึ่งของละครรำ เรียกว่า ร้องร่าย.

หนาตา

หมายถึงว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย เรียกว่า เพลงเสมอ เช่น เสมอบาทสกุณี (เสมอตีนนก) เสมอนาง เสมอมาร.

สะท้อน

หมายถึงก. วกกลับ, ย้อนกลับ, เช่น แสงสะท้อน เสียงสะท้อน, โดยปริยายหมายความว่า แสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยายสะท้อนภาพสังคม ละครสะท้อนชีวิตจริง.

ติดตลก

หมายถึงก. เอาตัวตลกมาเล่นแทรกเพื่อให้ตัวละครหรือคนร้องพัก, มักพูดใช้สำนวนโวหารหรือแสดงท่าทางชวนให้คนหัวเราะขบขัน.

บานพับ

หมายถึงน. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่างเป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร บานพับขา.

เยื้อง

หมายถึงก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่างละครรำ. ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลศิริราช.

พ่อเจ้าประคุณ

หมายถึงคำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.

ไฉยา

หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒).

ฉับฉ่ำ

หมายถึง(กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).

ฉัยยา

หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ