ค้นเจอ 243 รายการ

พานพระศรี

หมายถึง(ราชา) น. พานใส่หมากพลูของพระเจ้าแผ่นดิน, โบราณเรียก พานพระขันหมาก หรือ พระขันหมาก.

ภูธเรศ

หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.)

มาตามหะ

หมายถึง[มาตามะหะ] (ราชา) น. ตา คือ พ่อของแม่. (ป., ส.).

กระยาเสวย

หมายถึง(ราชา) น. เครื่องเสวย.

กระหม่อม

หมายถึงน. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).

กาสะ

หมายถึง(ราชา) น. การไอ, ใช้ว่า พระกาสะ. (ป., ส.).

แขน

หมายถึงน. อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, (ราชา) เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอกไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่งที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อ ไม้เท้าแขน.

เครื่องว่าง

หมายถึง(ราชา) น. ของว่าง, ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินในเวลาบ่าย.

ฉลองพระเนตร

หมายถึง(ราชา) น. แว่นตา.

ฉายาลักษณ์

หมายถึง(ราชา) น. รูปถ่าย.

กนิษฐ-

หมายถึง[กะนิดถะ-] ว. “น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺฐ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).

ทรงพระเครื่องใหญ่

หมายถึง(ราชา) ก. ตัดผม (ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ