ค้นเจอ 177 รายการ

เอกังสพยากรณ์

หมายถึง[-สะพะยากอน] น. “การพยากรณ์โดยส่วนเดียว” หมายถึง การพยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจน สามารถตอบได้อย่างแจ่มแจ้งทันที.

รัดเกล้า

หมายถึงน. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สำหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลว สำหรับพระสนม.

วรวิหาร

หมายถึง[วอระ-] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดตํ่าสุดว่า ชั้นโทชนิดวรวิหาร เช่น วัดบพิตรพิมุข วัดอนงคาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นตรีชนิดวรวิหาร เช่น วัดราชนัดดา วัดเทพธิดา.

รัฐธรรมนูญ

หมายถึง[รัดถะทำมะนูน, รัดทำมะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐเดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐ รวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).

แต่ง

หมายถึงก. จัดให้งาม เช่น แต่งร้าน แต่งบ้าน, ทำให้ดี เช่น แต่งต้นไม้ แต่งผม; จัดตั้ง เช่น แต่งทนาย แต่งราชทูต; จัดแจง เช่น แต่งเครื่องราชบรรณาการ แต่งทัพ; เรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว เช่น แต่งหนังสือ แต่งโคลงกลอน, คิดทำขึ้นเอง เช่น แต่งเรื่อง; ครอง เช่น แต่งเมือง ว่า ครองเมือง.

ประเทศราช

หมายถึง[ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการถวายเป็นประจำ และในเวลาเกิดศึกสงครามต้องเกณฑ์กำลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.

แท่น

หมายถึงน. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แท่นที่บูชา, (ราชา) เรียกที่ประทับหรือที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดินว่า พระแท่น เช่น พระแท่นมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชบรรจถรณ์; เรียกโต๊ะสำหรับกราบพระหน้าโต๊ะหมู่บูชาว่า พระแท่นทรงกราบ.

ตรา

หมายถึง[ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทำเป็นรูปต่าง ๆ สำหรับประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว, สำหรับเป็นเครื่องประดับในจำพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สำหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสำคัญ เช่น ตราไว้; กำหนดไว้, จดจำไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.

เสียเพศ

หมายถึง(วรรณ) ก. เปลี่ยนภาวะจากคฤหัสถ์เป็นนักบวช เช่น ซัดยังเมืองมัทรบุรี เสียเพศเทพี เป็นดาบสศรีโสภา. (สมุทรโฆษ), เปลี่ยนภาวะจากนักบวชเป็นคฤหัสถ์ เช่น เสียฤษีพรตเพศ ห้องหิมเวศนาจลจรหล่ำน้นน ราชเวสมธารยิ ทรงเพศเป็นพญามหากระษัตราธิราช. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

เจ้าพนักงานภูษามาลา

หมายถึงน. ข้าราชการในราชสำนัก มีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกำ ทำสุกำ เปลื้องเครื่องสุกำศพ พระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกำศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.

กระบี่ธุช

หมายถึงน. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.

วุฒิสภา

หมายถึง(กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับสภาผู้แทนราษฎรแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน ๒๐๐ คน ตามวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ