ค้นเจอ 305 รายการ

ฝรั่งเศส

หมายถึงน. ชาวยุโรป มีประเทศตั้งอยู่ทิศตะวันตกภาคพื้นยุโรป, ชื่อภาษาของชนชาตินั้น. (ฝ. Française).

ภารตวิทยา

หมายถึงน. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).

สิงหล

หมายถึง[-หน] น. ชื่อเรียกประเทศศรีลังกาในสมัยโบราณ, สิงหลทวีป ก็เรียก, เรียกชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของศรีลังกาว่า ชาวสิงหล, เรียกภาษาของชาวสิงหลว่า ภาษาสิงหล. (ส. สึหล; ป. สีหล).

ตาลุชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานแข็ง ได้แก่พยัญชนะวรรค จ คือ จ ฉ ช ฌ ญ และอักษร ย สระอิ อี รวมทั้ง ศ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ตาลวฺย).

วิลาด,วิลาศ

หมายถึงว. ที่เป็นของยุโรป (เป็นคำที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนเรียกชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ) เช่น สาคูวิลาด เหล็กวิลาด ผ้าวิลาศ. (เปอร์เซีย wilayat).

ฤๅ

หมายถึง[รือ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น รือ เช่น ฤๅษี.

ถือหาง

หมายถึงก. เข้าทางฝ่ายที่ตนพอใจ. (มาจากภาษาชนไก่ ยึดเอาไก่ตัวใดตัวหนึ่งในการต่อรอง).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.

ทันกิน

หมายถึงก. คิดหรือทำการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ทำการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน.

เชน

หมายถึงน. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ศาสดาชื่อมหาวีระ มี ๒ นิกายคือ นิกายทิคัมพร และ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาทางศาสนา ถือมั่นในหลักอหิงสาและมังสวิรัติ, ชิน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส. ไชน).

อาราธนาพระปริตร

หมายถึงก. ขอนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดมนต์ โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า วิปตฺติปฏิพาหาย ... ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ.

รากศัพท์

หมายถึงน. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุ เช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ