ค้นเจอ 79 รายการ

ปฐมยาม

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).

เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก

หมายถึงน. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย), เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ก็ว่า.

นิยาม

หมายถึง[-ยาม] (แบบ) น. การกำหนด, ทาง, อย่าง, วิธี. ก. กำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอน. (ป., ส.).

มัชฌิมยาม

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).

พระมาลัยมาโปรด

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กำลังตกทุกข์ได้ยากได้ทันท่วงที.

เกณฑ์ทหาร

หมายถึง(ปาก) ก. เรียกบุคคลมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปรกติ.

พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น

หมายถึง(สำ) ก. พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่, ใช้ว่า พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น ก็มี.

ป้อมบังคับการ

หมายถึง(โบ) น. ที่ซึ่งมีที่กำบังแข็งแรงสำหรับใช้ในการควบคุมการใช้อาวุธและสั่งการเดินเรือในยามสงคราม.

ศึกเสือเหนือใต้

หมายถึง(สำ) น. สงคราม เช่น ฝึกทหารไว้ให้พร้อมรบ ยามมีศึกเสือเหนือใต้จะได้ป้องกันบ้านเมือง.

เสียวสันหลัง

หมายถึงว. รู้สึกหวาดกลัว เช่น เดินในป่าช้ายามดึก รู้สึกเสียวสันหลัง, หนาวสันหลัง ก็ว่า.

ยามะ

หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. (ป.).

พยาม,พยามะ

หมายถึง[พะยาม, พะยามะ] น. วา คือ ระยะวาหนึ่ง. (ป. พฺยาม, วฺยาม; ส. วฺยาม).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ