ค้นเจอ 379 รายการ

โตงเตง

หมายถึงน. เครื่องหูกชนิดหนึ่ง มี ๒ อันผูกแขวนลงมาสำหรับสวมกระดานที่ม้วนด้าย; เรียกเสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออกว่า เสาโตงเตง, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, เรียกประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตงว่า ประตูโตงเตง. ว. อาการแห่งสิ่งของที่ห้อยแล้วหย่อนยานแกว่งไปมาได้.

ไตรเพท

หมายถึง[-เพด] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ในสมัยพระเวท มี ๓ คัมภีร์ คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท.

ทศพิธราชธรรม

หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.

แมลงดา เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

แมงดา เป็นคำที่เขียนผิด ❌

วจีสุจริต

หมายถึง[วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูดส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.

วัวตัวผู้

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาวงูเมีย ดาวปุรพผลคุนี หรือ ดาวปุพพผลคุนี ก็เรียก.

วิ่งวิบาก

หมายถึงน. การแข่งขันชนิดหนึ่ง มี ๒ ประเภท ประเภทหนึ่งระยะทาง ๓,๐๐๐ เมตร ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๒๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๗ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ อีกประเภทหนึ่งระยะทาง ๒,๐๐๐ เมตร ใช้สำหรับการแข่งขันประเภทเยาวชน ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๑๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๕ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.

วิศาขา,วิศาขา,วิสาขะ,วิสาขะ

หมายถึงน. ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนนาง หนองลาด เหมือง หรือไม้ฆ้อง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ ก็เรียก. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).

ศรวิษฐา

หมายถึง[สะระวิดถา] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา มี ๔ ดวง, ดาวไซ ดาวเศรษฐี หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก.

สมณบริขาร

หมายถึงน. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), อัฐบริขาร ก็เรียก. (ป.).

สมาบัติ

หมายถึง[สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).

สังโยชน์

หมายถึงน. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลำดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโชน; ส. สํโยชน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ