ค้นเจอ 548 รายการ

ธรรมยุทธ์

หมายถึงน. การรบกันในทางธรรม คือ รบกันในทางแข่งขันสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าใครสร้างได้แล้วก่อนก็ชนะ. (ส.).

สีหน้า

หมายถึงน. อารมณ์ที่ปรากฏทางหน้า เช่น วันนี้สีหน้าเขาไม่ดีเลย คงจะโกรธใครมา พอถูกดุก็ทำสีหน้าไม่พอใจ.

ภูมิศาสตร์

หมายถึง[พูมิ-] น. วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลก.

บังโกลน,บังโคลน

หมายถึง[-โกฺลน, -โคฺลน] น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกันโคลนมิให้กระเด็นขึ้นมาเปื้อนรถ.

บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น

หมายถึง(สำ) ก. รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน, รู้จักถนอมนํ้าใจไม่ให้ขุ่นเคืองกัน, บัวไม่ให้ชํ้า นํ้าไม่ให้ขุ่น ก็ว่า.

ขจ่าง

หมายถึง[ขะ-] ก. กระจ่าง เช่น จวบแจ้งขจ่างจา มิกราจำรัสศรี. (สรรพสิทธิ์).

สงวนท่าที,สงวนทีท่า

หมายถึงก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.

ผู้นำจับ

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลผู้มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด.

ธูปแพเทียนแพ

หมายถึงน. ธูปไม้ระกำกับเทียน ๔ คู่ วางเรียงกันเป็นแพ แล้วคาดด้วยริบบิ้นสี ใช้เป็นเครื่องแสดงความเคารพอย่างสูง.

แหวกแนว

หมายถึงก. ทำไม่ซํ้าแบบใคร เช่น เขาชอบแหวกแนว. ว. ที่ชอบทำในสิ่งที่ไม่ซ้ำแบบใคร เช่น เขาเป็นคนแหวกแนว.

ยุทธปัจจัย

หมายถึงน. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อการรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.

หน้าต่าง

หมายถึงน. ช่องฝาบ้านหรือเรือนเป็นต้นที่เปิดปิดได้ สำหรับรับแสงสว่างหรือให้อากาศถ่ายเทได้ แต่มิใช่ทางสำหรับเข้าออก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ