ค้นเจอ 71 รายการ

อาราธนาศีล

หมายถึงก. ขอให้พระภิกษุหรือสามเณรให้ไตรสรณคมณ์และศีล โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห ... สีลานิ ยาจาม.

สุขาวดี

หมายถึง[สุขาวะดี] น. แดนอันมีความสุขตามความเชื่อของลัทธิมหายาน. (ส. สุขาวดี ว่า สวรรค์ของพระอมิตาภพุทธเจ้าของฝ่ายมหายาน).

กรรตุสัญญา

หมายถึง[กัดตุ-] น. นามที่เป็นคำร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺา = นาม, ชื่อ).

โอษฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับสระอุ อู. (ป. โอฏฺช; ส. โอษฺฐฺย).

กระพอก

หมายถึงน. กล่องสานมีฝาครอบสำหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสำหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).

ภรรดร,ภรรดา

หมายถึง[พันดอน, พันดา] น. ผัว เช่น ปัญหามีแต่จักหา ภรรดาสมศักดิ์สมศรี หาได้ใช่ง่ายชายดี สมกับเทวีลูกเรา. (กนกนคร), ใช้ว่า ภัสดา ก็ได้, โบราณใช้ว่า ภรัสดาษ ก็มี. (ส. ภรฺตฺฤ; ป. ภตฺตา).

โอฆ,โอฆ-,โอฆะ

หมายถึง[โอคะ-] น. ห้วงนํ้า; ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา. (ป., ส.).

ธาตุมมิสสา

หมายถึง[ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสำแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุขเสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตำรากลอน).

คณ,คณ-,คณะ

หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).

อักษรต่ำ

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ