ค้นเจอ 137 รายการ

มนิลา

หมายถึงน. เรียกเชือกเกลียวสีขาว ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก ว่า เชือกมนิลา, มักเรียกว่า เชือกมลิลา; เรียกเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่หักหน้าจั่ว เหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน ว่า เรือนทรงมนิลา, เรือนทรงมลิลา ก็เรียก.

ค่าจ้าง

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร.

กระทั่ง

หมายถึงก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทำให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น.

สุขนาฏกรรม

หมายถึง[สุกขะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.

อู้

หมายถึงว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรืองา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.

จัตุโลกบาล

หมายถึง[จัดตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล ก็ว่า. (ป.).

โลกบาล

หมายถึง[โลกกะ-] น. หัวหน้าเทวดาในชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกเต็มว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา หรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ. (ป., ส. โลกปาล).

ครอบ

หมายถึง[คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงำไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสำหรับครอบพระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ดทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.

จตุโลกบาล

หมายถึง[จะตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

รัก

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Calotropis gigantea (L.) Aiton f. ในวงศ์ Asclepiadaceae ดอกใช้ร้อยกรอง มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกลา และ พันธุ์ดอกซ้อน ยางเป็นพิษ. (เทียบ ส. อรฺก; ป. อกฺก). (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Gluta usitata (Wallich) Ding Hou ในวงศ์ Anacardiaceae ยางเป็นพิษ ใช้ลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า นํ้ารัก. (เทียบ ส. ลากฺษ).

ชาตรี

หมายถึง[-ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ ที่มีคำ ชาตรี นำหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ