ค้นเจอ 489 รายการ

จาตุ,จาตุ-

หมายถึงว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.

คาถา

หมายถึงน. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.

กระลอม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.

ขาง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อัง, ทำให้ร้อน, ทำให้สุก, เช่น เอาขี้ผึ้งไปขางไฟ ว่า เอาขี้ผึ้งไปอังไฟ.

แดก

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เรียกปลาที่หมักใส่เกลือโขลกปนกับรำแล้วยัดใส่ไหว่า ปลาแดก, ปลาร้า.

อักษรศาสตร์

หมายถึง[อักสอระสาด, อักสอนสาน] น. วิชาการหนังสือ เน้นในด้านภาษาและวรรณคดี.

เยอรมัน

หมายถึงน. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชาวยุโรปชาติหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันตกของภาคพื้นยุโรป.

ฝากสู่

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. อนุญาตให้ชายสมสู่อยู่กินกับหญิงฉันผัวเมียกันได้ตั้งแต่วันสู่ขอแล้วทำพิธีแต่งงานในภายหลัง.

แถ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. ทำให้เตียน, ทำให้โล่ง, เช่น แถผม แถหัว หมายถึง โกนผม โกนหัว.

คัว

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. ทำให้สะอาด, ชำระล้าง, เช่น คัวปลา ว่า ขอดเกล็ดปลาแล้วผ่าท้องล้างให้สะอาด.

ข่า

หมายถึงน. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.

ข้าวสาก

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพและพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ