ค้นเจอ 339 รายการ

ภาร,ภาร-,ภาระ,ภาระ

หมายถึง[พาน, พาระ-] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการอบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).

ภารตวิทยา

หมายถึงน. วิชาที่เกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีศาสนา ปรัชญา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี เป็นต้น. (ส.).

ภารยทรัพย์

หมายถึง[พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระบางอย่างที่เกิดจากภาระจำยอม, คู่กับ สามยทรัพย์.

ภาระ,ภาระ,ภารา,ภารา

หมายถึงน. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ส. ภาร).

ภาวนามัย

หมายถึงว. สำเร็จด้วยภาวนา. (ป.).

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

ภาษาปาก

หมายถึงน. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.

ภาษาศาสตร์

หมายถึงน. วิชาที่ศึกษาภาษาในแง่ต่าง ๆ เช่น เสียง โครงสร้าง ความหมาย โดยอาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์ เช่น มีการตั้งสมมุติฐาน เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผล.

ภาสุระ

หมายถึงว. สว่าง, มีแสงพราวเช่นแก้ว. (ส.).

ภิกขุนี

หมายถึงน. ภิกษุณี. (ป.; ส. ภิกฺษุณี).

ภิกษาจาร

หมายถึงน. การเที่ยวขอ, การเที่ยวขออาหาร. (ส.; ป. ภิกฺขาจาร).

ภิกษุณี

หมายถึงน. หญิงที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุนี).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ