ค้นเจอ 217 รายการ

คงคา

หมายถึงน. ชื่อหวายชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนต้นสามสิบ รากเหมือนรากละหุ่ง ใบเหมือนใบละหุ่ง หัวเป็นแง่ง ยางขาวเหมือนนม. (พจน. ๒๔๙๓).

นางล้อม

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Proiphys amboiensis (L.) Hebert ในวงศ์ Amaryllidaceae เชื่อว่าป้องกันขโมยได้, ว่านนางล้อม ก็เรียก. (๒) ชื่อกกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).

ลหุกาบัติ

หมายถึง[ละหุกาบัด] น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้องบอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. (ป. ลหุกาปตฺติ).

อมรโคยานทวีป

หมายถึงน. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุเป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.

การวิก

หมายถึง[การะวิก] น. นกการเวก เช่น การวิกรวังวนกุณาล พเพรียกพร้องกระแสงใส. (สมุทรโฆษ). (ป. กรวีก; ส. กรวีก, กลวิงฺก).

สนธิ

หมายถึงน. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).

โอษฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับสระอุ อู. (ป. โอฏฺช; ส. โอษฺฐฺย).

พุทรา

หมายถึง[พุดซา] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ziziphus mauritiana Lam. ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลมีทั้งกลมและรี, พายัพและอีสานเรียก กะทัน ทัน หรือ หมากทัน. (ป., ส. พทร).

สยาม,สยาม-

หมายถึง[สะหฺยาม, สะหฺยามมะ-] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.

หนวดพราหมณ์

หมายถึง[หฺนวดพฺราม] น. (๑) ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นจามจุรี แต่ไม่มีกลิ่นหอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อกล้วยไม้ชนิด Seidenfadenia mitrata Garay ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีม่วงแดง กลิ่นหอม, เอื้องหนวดพราหมณ์ ก็เรียก.

กปณก

หมายถึง[กะปะนก] น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศรหนึ่งน้นน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ป. กปณ).

กำบัง

หมายถึงน. ชื่อว่านต้นดั่งกระชาย หัวเล็ก ๆ ติดกันดั่งกล้วยไข่ ต้นและใบเขียว เนื้อในขาว ใช้สำหรับเป็นว่านกันภัยในทางลัทธิ และกันว่านร้ายต่าง ๆ, ว่านกั้นบัง ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ