ค้นเจอ 83 รายการ

เขนงนายพราน

หมายถึง[ขะเหฺนง-] น. ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นตามพงหญ้าบนดินทรายที่ชุ่มแฉะ ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายกระบอก มีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, กระดึงพระราม แล่งพระราม เหนงนายพราน หรือ ลึงค์นายพราน ก็เรียก.

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

กาษา,กาสา,กาสา

หมายถึงน. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสำรับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตำราทำนายฝัน). (ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).

กระยา

หมายถึงน. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).

สด ๆ,สด ๆ ร้อน ๆ

หมายถึงว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิตออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคลผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือนเจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.

กระสัน

หมายถึงก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.

จำห้าประการ

หมายถึงว. มีเครื่องจองจำครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้าติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไปในคาและไปติดกับขื่อทำด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จำครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).

กระทู้

หมายถึงน. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสำหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนำหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.

คู่โค

หมายถึง(โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [“ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” -พงศ. ร. ๒].

ภาษา

หมายถึงน. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.

กฎหมาย

หมายถึง(กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกำหนดเก่า); ออกหมายกำหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่ว จะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกำหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ