ค้นเจอ 3,692 รายการ

รโหคต

หมายถึงว. ผู้ไปในที่ลับ, ผู้อยู่ในที่สงัด. (ป.).

ภาณกะ

หมายถึง[พานะกะ] (แบบ) น. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก. (ป.).

สูจกะ

หมายถึง[-จะกะ] น. ผู้ชี้แจง; ผู้นำจับ; ผู้ส่อเสียด. (ป., ส.).

ทำบุญเอาหน้า

หมายถึง(สำ) ก. ทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.

ถ่ายเท

หมายถึงก. ให้ระบายเข้าออกได้ (มักใช้แก่อากาศหรือนํ้า); ยักย้ายหลีกเลี่ยงด้วยอุบาย, มักใช้ว่า ยักย้ายถ่ายเท.

ปฏิสันถาร

หมายถึงน. การทักทายปราศรัยแขกผู้มาหา (มักใช้แก่ผู้น้อย); การต้อนรับแขก. (ป. ปฏิสนฺถาร).

ลูกค้า

หมายถึงน. ผู้ซื้อ เช่น ผู้ขายปลีกเป็นลูกค้าของผู้ขายส่ง, ผู้อุดหนุนในเชิงธุรกิจ เช่น ลูกค้าของธนาคาร.

มรรคนายก

หมายถึง[มักคะนายก] น. “ผู้นำทาง” คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).

วสี

หมายถึงน. ผู้ชำนะตนเอง, ผู้สำรวมอินทรีย์, ผู้ตัดกิเลสได้ดังใจ; ผู้ชำนาญ. (ป.).

มัคคุเทศก์

หมายถึงน. ผู้นำทาง, ผู้ชี้ทาง, ผู้บอกทาง; ผู้นำเที่ยว. (ป. มคฺค + อุทฺเทสก).

กถามรรค

หมายถึง[-มัก] น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตามอัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. (ส. กถา + มรฺค ว่า ทาง).

หาริน,หารี

หมายถึงว. ถือเอา, นำไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ