ค้นเจอ 210 รายการ

จาว

หมายถึงน. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).

สะดุดตา

หมายถึงก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตาจริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิกลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล.

ฉมบ

หมายถึง[ฉะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร เช่น อนึ่งเปนสัจว่าเปนฉมบจะกละกะสือ แลมาฟ้องร้องเรียนแก่มุขลูกขุนก็ดี ๒๐. (สามดวง), ชมบ หรือ ทมบ ก็ว่า. (ข. ฉฺมบ ว่า หมอตำแย).

กระหัง

หมายถึงน. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).

เตี่ยว

หมายถึงน. ผ้าชิ้นน้อยยาวสำหรับคาดปากหม้อกันไม่ให้ไอร้อนออกเวลานึ่งของ, ผ้าขัดหนอกผู้หญิงสำหรับซับระดูหรืออยู่กระดานไฟ; ใบตองหรือใบมะพร้าวสำหรับคาดกลัดห่อขนม เช่นห่อข้าวหมาก ห่อขนมตาล; (ถิ่น-พายัพ) กางเกง. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น.

กะโปรง

หมายถึง[-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้สำหรับใส่ของต่าง ๆ; กระโปรง ก็ใช้.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

แล

หมายถึงว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฿. (เตลงพ่าย).

ถุง

หมายถึงน. เครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของ ทำด้วยผ้าหรือกระดาษเป็นต้น ก้นปิด ปากเปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว, เรียกเครื่องใช้สำหรับสวมมือสวมเท้า มีลักษณะยืดหรือหดได้ ว่า ถุงมือ ถุงเท้า, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถุงนํ้าดี ถุงนํ้าครํ่า ถุงนํ้าตา, เรียกผ้านุ่งของผู้หญิงซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกันว่า ผ้าถุง.

ศิลปะ,ศิลป-,ศิลป์,ศิลป์,ศิลปะ

หมายถึง[สินละปะ-, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).

ล่า

หมายถึงก. ถอย (ใช้แก่คนจำนวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือเพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมายความว่า เที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่กำหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพแตกล่า.

ตกเขียว

หมายถึงน. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลงกันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทนเงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียนจบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ