ค้นเจอ 210 รายการ

โหม่ง

หมายถึง[โหฺม่ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ฆ้องคู่. ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง.

ปุดกะลา

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นกะลา. (ดู กะลา ๒).

กะต่อย

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล็ก, ลีบ, เช่น สะตอกะต่อย ว่า ลูกสะตอลีบ.

คลัก

หมายถึง[คฺลัก] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. ทำให้สกปรก เช่น ตัวเปื้อนอย่ามาคลักที่นอน.

กะโกระ

หมายถึง[-โกฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ภาชนะชนิดหนึ่งสานด้วยใบเตย รูปร่างคล้ายครุ.

กะดก

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กาบ เช่น กะดกหมาก = กาบหมาก, ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ดก.

ประ

หมายถึง[ปฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้, มลายู) น. ลูกกระ. (ดู กระ ๒).

มึก

หมายถึงก. กิริยาที่ดื่มเหล้าจนเมา; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ดื่มอย่างกระหาย.

เซิง

หมายถึงน. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ลมที่พัดจากตะวันตกมาตะวันออก เรียกว่า ลมเซิง.

วรรค

หมายถึง[วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมายวรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคำหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะหนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตราปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).

กุหนี

หมายถึง[-หฺนี] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระสอบป่าน, งู่หนี ก็ว่า. (ส. โคณี ว่า กระสอบป่าน).

กูด

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน, ปักษ์ใต้) ว. หงิก เช่น ผักกูด คือ ผักยอดใบหงิก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ