ค้นเจอ 25 รายการ

บรรจง

หมายถึง[บัน-] ก. ตั้งใจทำ เช่น บรรจงเขียน, ทำโดยระมัดระวัง เช่น มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง. ว. อย่างประณีต เช่น เขียนบรรจง, ตัวบรรจง.

ป้าย

หมายถึงก. ทำให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีตบรรจง, ทำให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.

มือหนัก

หมายถึงว. อาการที่ใช้มือทำอะไรอย่างรุนแรงหรือไม่ประณีตบรรจง, ตรงข้ามกับ มือเบา; มากผิดปรกติ (มักใช้ในการเล่นการพนันหรือตกรางวัลเป็นต้น) เช่น เขาแทงโปมือหนัก เขาตกรางวัลนักร้องมือหนักไป.

ละครชาตรี

หมายถึงน. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.

ศิลปวัตถุ

หมายถึงน. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูงในทางศิลปะ.

ละครใน

หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.

บ้าย

หมายถึงก. ป้าย, ทำให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทำให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ในความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.

สันสกฤต

หมายถึง[-สะกฺริด] น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดีย-ยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดีอินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดีของพราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่า สังสกฤต ก็มี. ว. ที่ทำให้ดีพร้อมแล้ว, ที่ทำให้ประณีตแล้ว, ที่ขัดเกลาแล้ว. (ส. สํสฺกฤต; ป. สกฺกฏ).

สมาบัติ

หมายถึง[สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).

ร้อยกรอง

หมายถึงก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีตศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรองสไบ; ตรวจชำระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคำว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คำประพันธ์, ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.

ชาตรี

หมายถึง[-ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ ที่มีคำ ชาตรี นำหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).

แถก

หมายถึงก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวง กุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลามะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาวอย่างไม่ประณีต ในคำว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้นแถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ