ค้นเจอ 266 รายการ

ใต้

หมายถึงว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะตํ่ากว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น รถไฟใต้ดิน อยู่ใต้อำนาจ, ตรงข้ามกับ เหนือ เช่น ใต้ลม, ตํ่ากว่าพื้นผิวระดับหรือเกณฑ์ เช่น ใต้ดิน ใต้นํ้า. น. ทิศที่อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ, ทิศที่อยู่ทางขวามือ เมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เรียกว่า ทิศใต้, ทิศทักษิณ ก็ว่า. บ. ข้างล่าง เช่น อยู่ใต้ต้นไม้.

เรือฟริเกต

หมายถึงน. เรือรบที่มีความเร็วสูง มีระวางขับน้ำประมาณ ๑,๕๐๐-๓,๕๐๐ ตัน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามระบบอาวุธประจำเรือ อาทิ เรือฟริเกตต่อสู้อากาศยาน เรือฟริเกตควบคุมอากาศยาน เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ และเรือฟริเกตอเนกประสงค์.

กระสือ

หมายถึงน. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.

มอบ

หมายถึงก. ทำให้แน่นหรือให้เรียบด้วยการหุ้มหรือขลิบตามริม เช่น มอบปากกระทง. น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกัน หรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่า ไม้มอบ.

นอก

หมายถึงบ. ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือน นอกประเทศ นอกกาย นอกตำแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของนอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก, เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจากนอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน.

กระทั่ง

หมายถึงก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทำให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตรกระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขาก็ยังไม่เว้น.

แสลงใจ

หมายถึง[สะแหฺลง-] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Strychnos nux-vomica L. ในวงศ์ Strychnaceae ผลกลม สุกสีเหลือง เมล็ดกลมแบน มีแอลคาลอยด์หลัก ๒ ชนิด คือ สตริกนิน และ บรูซีน เป็นสารพิษ, ตูมกาแดง ก็เรียก, อีสาน เรียก แสลงเบื่อ, เมล็ดแก่แห้งใช้ทำยาได้ เรียก โกฐกะกลิ้ง.

รูปธรรม

หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).

วง

หมายถึงน. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ในการรำ, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรำ; ลักษณนามใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คนนั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วง หรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็นชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วงประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทำเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอเขียนเป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.

ระหว่าง

หมายถึงน. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะเวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียนหนังสืออยู่, เวลาที่กำลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คำที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือสถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.

ถึง

หมายถึงก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยายหมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่น ไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคำจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึง เช่น ทำอย่างนี้ถึงจะดี.

ตรง,ตรง ๆ

หมายถึง[ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสาให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกำหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบังอำพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรงเข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ