ค้นเจอ 151 รายการ

บางสุ

หมายถึง(กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบทบางษุบาท. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปำสุ).

ขยด

หมายถึง[ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).

กินนรรำ

หมายถึงน. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.

ลอยแพ

หมายถึงก. จับใส่แพแล้วปล่อยให้ลอยล่องไปในน้ำตามยถากรรม เช่น สมัยโบราณเอาคนชั่วลอยแพไป นางกากีถูกลอยแพ, โดยปริยายหมายถึง ปล่อยให้ตกอยู่ในสถานะลำบาก เช่น โรงงานขาดทุนต้องปิดกิจการ คนงานจึงถูกลอยแพ.

สิ้นฝีมือ

หมายถึงว. เต็มความสามารถที่มีอยู่; หมดความสามารถ; หมดฝีมือ ก็ว่า; ไม่มีใครเทียบความสามารถได้ เช่น ม่านนี้ฝีมือวันทองทำ จำได้ไม่ผิดนัยน์ตาพี่ เส้นไหมแม้นเขียนแนบเนียนดี สิ้นฝีมือแล้วแต่นางเดียว. (ขุนช้างขุนแผน).

สมจร

หมายถึงก. ร่วมประเวณี เช่น เจ้าสมจรด้วยเมียข้าคนตนเองไซ้ ท่านให้ไหมให้ผัวมันเปนไท... ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่แลเจ้าข้ามิให้แลมันภากันหนีไกล... (สามดวง) มีนิทานเรื่องนางนาคสมจรกับงูดิน.

ชุด

หมายถึงน. ของที่คุมเข้าเป็นสำรับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็นพวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบำ, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของโขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนามเรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทำนองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.

เสือลากหาง

หมายถึง(สำ) น. คนที่ทำท่าทีเป็นเซื่องซึม เป็นกลอุบายให้ผู้อื่นตายใจแล้วเข้าทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ทันให้รู้ตัว, คนที่ทำท่าอย่างเสือลากหาง เพื่อขู่ให้กลัว เช่น ถือไม้เท้าก้าวเดินเป็นท่าทาง ทีเสือลากหางให้นางกลัว. (สังข์ทอง).

รัดเกล้า

หมายถึงน. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สำหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลว สำหรับพระสนม.

อันโทล

หมายถึง[-โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หากเที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คำหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).

ปากจิ้งจก

หมายถึงน. ชื่องูชนิด Ahaetulla prasina ในวงศ์ Colubridae หัวและตัวเรียวยาว ส่วนมากตัวสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน มีพิษอ่อนมาก.

กล่าว

หมายถึง[กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคำเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คำนี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ