ค้นเจอ 247 รายการ

ธรรมศาสตร์

หมายถึง(โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกำเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก.

ธรรมสถิติ

หมายถึงน. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมิติ).

ธรรมันเตวาสิก

หมายถึง[ทำมัน-] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).

ธรรมาธรรม

หมายถึง[ทำมา-] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรมและอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม).

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

หมายถึง[ทำมา-] น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, การประพฤติความดีสมควรแก่ฐานะ.

ธรรมาภิมุข

หมายถึง[ทำมา-] ว. หันหน้าเฉพาะธรรม, มุ่งแต่ยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาภิมุข).

ธรรมาภิสมัย

หมายถึง[ทำมา-] น. การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล. (ส.; ป. ธมฺมาภิสมย).

ธรรมิก,ธรรมิก-

หมายถึง[ทำมิก, ทำมิกกะ-] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็นธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).

ธราดล

หมายถึงน. พื้นแผ่นดิน. (ป.).

ธราธร

หมายถึงน. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.).

ธริษตรี,ธเรษตรี

หมายถึง[ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทาธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี).

ธัช

หมายถึง[ทัด] (แบบ) น. ธง. (ป. ธช).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ