ค้นเจอ 353 รายการ

เหอะน่า

หมายถึง(ปาก) เถอะน่า, คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น, เฮอะน่า ก็ว่า.

คต,-คต

หมายถึง[-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).

เชิงอรรถ

หมายถึงน. คำอธิบายหรือข้ออ้างอิงที่เขียนหรือพิมพ์ไว้ที่ส่วนล่างของหน้าหนังสือหรือตอนท้ายของเรื่อง.

หางแถว

หมายถึงน. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ไม่มีความสำคัญ, ปลายแถว ก็ว่า.

ไม้งก

หมายถึงน. ไม้รูปคล้ายตะลุมพุกสำหรับควาญท้ายตีช้างเมื่อต้องการให้ช้างไปเร็ว.

ส่งท้าย

หมายถึงก. พายกระตุ้นท้ายเรือเพื่อให้แล่นเร็ว เช่น เมื่อใกล้จะถึงเส้นชัยนายท้ายก็เร่งพายส่งท้าย; พูดหรือทำท้ายสุดเพื่ออำลา เช่น เขียนบทส่งท้ายต้องไว้ฝีมือหน่อย ส่งท้ายการเลี้ยงด้วยการให้พร.

เสียซิ,เสียซี

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงคำสั่งหรือแนะนำเป็นต้น เช่น กินเสียซิ ไปเสียซี.

ปีกตะไล

หมายถึงน. แผ่นไม้ไผ่บาง ๆ ที่ขดปิดหัวท้ายกระบอกตะไลเป็นรูปวงกลม.

เรือแหวด

หมายถึง[-แหฺวด] น. เรือแจวชนิดหนึ่ง มีเก๋งรูปยาว ๆ ท้ายโตและสูง.

ปลายแถว

หมายถึงน. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ที่มีความสำคัญน้อย, หางแถว ก็ว่า.

หนา

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น อยู่เถิดหนา.

เอ็ด

หมายถึงว. หนึ่ง (ใช้เรียกจำนวนเลขที่มี ๑ อยู่ท้าย เช่น ๑๑ ว่า สิบเอ็ด ๑๐๑ ว่า ร้อยเอ็ด หรือหนึ่งร้อยเอ็ด).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ