ค้นเจอ 492 รายการ

ตลาดน้ำ

หมายถึงน. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ทางนํ้า มีเรือเป็นพาหนะบรรทุกสิ่งของ, ตลาดท้องนํ้า ก็ว่า.

รุ้ง

หมายถึงน. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ ๗ สี คือ ม่วง คราม นํ้าเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง, สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร. ว. กว้างโค้ง, โค้ง เช่น ขุดรุ้งรางเข้าไป.

ระแนะ

หมายถึงน. เครื่องสำหรับรองรากตึกและเสาเรือน, แระ ก็เรียก; ท้องเรือ.

ปล่อยของ

หมายถึงก. ทำพิธีทางไสยศาสตร์ให้ของไปทำร้ายผู้อื่น เช่น เสกหนังควายเข้าท้องศัตรู.

ปัญจสาขา

หมายถึงน. กิ่งทั้ง ๕ คือ หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ ของลูกที่อยู่ในท้อง. (ป.).

ตระเบ็ง

หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ก. กลั้นใจดันเบ่งเสียงออกให้ดัง, อัดใจให้ท้องป่องขึ้น, กระเบง.

ดาบลาว

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลชนิด Chirocentrus dorab และ C. nudus ในวงศ์ Chirocentridae ปากเชิดขึ้น มีฟันแหลมคมมาก ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม แนวสันหลังและสันท้องตรงเกือบขนานกัน ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก เกล็ดเล็กและบาง ด้านหลังลำตัวสีนํ้าเงิน ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน, ฝักพร้า หรือ ดาบ ก็เรียก.

ท้องผุท้องพัง

หมายถึงว. เรียกท้องปลาทูเป็นต้นที่ไม่ค่อยสด เมื่อทอดแล้วมีลักษณะแตกโหว่.

สว้าน

หมายถึง[สะว่าน] ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เป็นอาการของไข้หนักจวนจะสิ้นใจ.

ฝีดิบ

หมายถึงน. ฝีที่เป็นแก่คนอยู่ไฟเมื่อคลอดลูก เป็นฝีหัวเดียว มักขึ้นแถวท้อง.

ขี้เดือด

หมายถึงน. ขี้เมฆตามริมขอบฟ้าวิ่งเดือดพลุ่งขึ้นข้างบนซึ่งนัยว่าจะเกิดพายุ.

ชวัก

หมายถึง[ชะ-] (กลอน) ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระรามพระลักษณชวักอร. (แช่งน้ำ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ