ค้นเจอ 700 รายการ

ทวด

หมายถึงน. พ่อหรือแม่ของ ปู่ ย่า ตา ยาย, ชวด ก็ว่า.

บทบูรณ์

หมายถึง[บดทะ-] น. คำที่ทำให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตามฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คำ “นุ” เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).

ประจักษ,ประจักษ-,ประจักษ์

หมายถึงว. ปรากฏชัด อาจเป็นทางตาหรือใจก็ได้ เช่น ประจักษ์แก่ตา ประจักษ์แก่ใจ. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).

หน้าเสี้ยว

หมายถึงน. หน้าด้านข้าง (เห็นตา ๒ ข้างและหูข้างเดียว).

พรับ

หมายถึง[พฺรับ] (กลอน) ก. พริบ, ขยิบ, (ใช้แก่ตา).

มลาน

หมายถึง[มะลาน] ว. ลนลาน; ลานตา. (แผลงมาจาก ลาน).

ตาโก้ง

หมายถึงน. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ.

ตำตา

หมายถึงว. ปรากฏชัดแก่ตา, ตำหูตำตา ก็ว่า.

ฉันทานุมัติ

หมายถึง[ฉันทานุมัด] น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ. (ป. ฉนฺท + อนุมติ).

หลบตา

หมายถึงก. หลีกไม่จับตา, ไม่กล้าสบตา, ไม่สู้สายตา.

โทนโท่

หมายถึงว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่โทนโท่, ทนโท่ ก็ว่า.

กระเจาะ

หมายถึงว. มีแผลเป็นที่ลูกตา เรียกว่า ตากระเจาะ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ