ค้นเจอ 154 รายการ

ศรัทธา

หมายถึง[สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาในความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสาทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขาศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).

ฝ่ายค้าน

หมายถึงน. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใครจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.

หนวกหู

หมายถึงก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉันหนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรำคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.

มา

หมายถึงก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคำกริยาแสดงอดีต เช่น นานมาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.

เวร

หมายถึงน. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).

เสียดาย

หมายถึงก. รู้สึกอยากได้สิ่งที่เสียไปพลาดไปเป็นต้น ให้กลับคืนมา เช่น เธอเสียดายแหวนเพชรที่หายไป, รู้สึกว่าพลาดโอกาสที่ควรจะมีจะได้ เช่น เสียดายที่เขาไม่เชิญฉันไปงานนี้ด้วย, รู้สึกไม่อยากให้เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น เปิดน้ำเปิดไฟทิ้งไว้ น่าเสียดาย; อาลัยถึงสิ่งที่จากไป เช่น เขาเสียดายที่คนดี ๆ ตายในอุบัติเหตุครั้งนี้หลายคน.

สามารถ

หมายถึง[สามาด] เป็นคำช่วยกริยาบอกว่ามีคุณสมบัติที่จะทำได้ เช่น เขาสามารถเดินได้ชั่วโมงละ ๕ กิโลเมตร เพื่อนฉันสามารถขี่จักรยานไต่ลวดได้. ว. มีคุณสมบัติที่จะทำได้ โดยเฉพาะทางความรู้หรือความชำนาญเป็นต้น เช่น ลูกเขาเป็นคนสามารถเรียนอะไรก็เรียนได้. (ส. สมรฺถ; ป. สมตฺถ).

เกล้ากระหม่อม

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ปั้น

หมายถึงก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทำให้เป็นรูปตามที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.

กะ

หมายถึงว. ใช้รวมกับคำวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นำหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่น พี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคำว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคำว่า แก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคำเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).

แกล้ง

หมายถึง[แกฺล้ง] ก. ทำให้เดือดร้อนรำคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน, จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

หาก

หมายถึงก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ