ค้นเจอ 154 รายการ

บุพบท

หมายถึงน. คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.

สมสู่

หมายถึงก. ร่วมประเวณี (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาไปสมสู่กันเอง สมสู่อยู่กินกันฉันผัวเมีย, บางทีก็ใช้กับสัตว์บางชนิด เช่น เดือน ๑๒ เป็นฤดูที่สุนัขสมสู่กัน.

เมื่อ

หมายถึงน. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.

ยาวชีวิก

หมายถึง[ยาวะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล, ตามวินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).

อยู่ ๆ,อยู่ดี ๆ

หมายถึงว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.

เจ้าภาพ

หมายถึงน. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงานแต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็นเจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.

หนักหัวกบาล

หมายถึง(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะไปที่ไหน ก็ไม่เห็นจะหนักหัวกบาลใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัว ก็ว่า.

รู้ชั้นเชิง,รู้ชั้นรู้เชิง

หมายถึงก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.

หนักกะลาหัว

หมายถึง(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะทำอย่างนี้ แล้วมันหนักกะลาหัวใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.

พิสมัย

หมายถึง[พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).

เสียสายตา

หมายถึงก. ทำให้สายตาเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น อย่าอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างน้อย จะทำให้เสียสายตา; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า.

หาเหตุ

หมายถึงก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; หาข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ