ค้นเจอ 193 รายการ

พะโล้

หมายถึงน. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศอื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจนน้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรสหวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้.

ซ่งฮื้อ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Aristichthys nobilis ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม ที่สำคัญคือ มีหัวโตและกว้าง เกล็ดเล็กเรียบ หากินอยู่ตามพื้นท้องนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.

ลิ่นฮื้อ

หมายถึงน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Labeo jordani ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกันในชื่อ Cirrhinus molitorella ตัวยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ตํ่าที่ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก.

หัวเห็ด

หมายถึงน. เรียกตะปูชนิดหนึ่งที่หัวบานเหมือนดอกเห็ดสำหรับตอกสังกะสีเป็นต้น ว่า ตะปูหัวเห็ด. ว. ทรหดอดทน เช่น นักข่าวหัวเห็ด นักสืบหัวเห็ด; (โบ) ดื้อรั้นไม่ยอมเปลี่ยนความคิดง่าย ๆ, หัวเห็ดย้ำ ก็ว่า เช่น มหาชนโดยมากเขาทำกันอย่างไร เราก็ต้องทำอย่างนั้น ที่จะไปหัวเห็ดย้ำให้ผิดกาลเทศะอย่างจีน ๆ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย. (ลักวิทยา).

ชิงฮื้อ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีหนวด ชนิด Mylopharyngodon aethiops ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลำคอเพียงแถวเดียว ที่สำคัญคือ ทั่วลำตัวและครีบสีออกดำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร.

โต๊ะ

หมายถึงน. สิ่งที่ทำด้วยไม้เป็นต้น พื้นราบ เป็นรูปต่าง ๆ มีขาสำหรับเป็นที่เขียนหนังสือ ตั้งเครื่องบูชา หรือ วางสิ่งของต่าง ๆ เรียกชื่อต่าง ๆ ตามวัตถุที่ทำ เช่น โต๊ะหิน โต๊ะมุก ตามรูปร่าง เช่น โต๊ะกลม โต๊ะสี่เหลี่ยม ตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น โต๊ะเขียนหนังสือ โต๊ะกินข้าว, ลักษณนามว่า ตัว ถ้าเป็นโต๊ะอาหารจีนเป็นชุด ลักษณนามว่า โต๊ะ.

ถั่วลันเตา

หมายถึงน. ชื่อถั่วชนิด Pisum sativum L. ในวงศ์ Leguminosae เป็นไม้เถา มีมือเกาะ ยอดและฝักอ่อนใช้กินเป็นผัก พันธุ์ฝักเล็กดอกสีขาว พันธุ์ฝักใหญ่ดอกสีชมพูอมม่วงหรือสีอื่น ๆ, ถั่วน้อย ก็เรียก. (ลัน ย่อมาจาก ฮอลแลนด์ หรือ ฮอลันดา, เตา มาจาก เต้า ในภาษาจีน).

เลี้ยง

หมายถึงก. ดูแล, เอาใจใส่, บำรุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหารการกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า; ประคับประคองให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ; กินร่วมกันเพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์; (ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.

หลวง

หมายถึงว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คำเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.

เจ้า

หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชำนาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.

ภาษาราชการ

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.

อูฐ

หมายถึง[อูด] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae หัว คอ และขาทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก (Camelus bactrianus) มีในประเทศจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน, ชนิดหนอกเดียว (C. dromedarius) มีในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ. (ป. โอฏฺ; ส. อุษฺฏฺร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ