ค้นเจอ 494 รายการ

ส่งกระแสจิต

หมายถึงก. อาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

จิตกึ่งสำนึก

หมายถึงน. ภาวะที่จิตไม่ค่อยรู้สึกตัว เมื่อปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้น แต่ไม่รู้ตัวเต็มที่. (อ. semiconscious).

ปราศรัย

หมายถึง[ปฺราไส] น. การพูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คำปรารภ. ก. พูดด้วยไมตรีจิต, พูดแสดงอัชฌาสัยระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; ปรารภ. (ส. ปฺรศฺรย).

บรรณารักษ์

หมายถึง[บันนารัก] น. บุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินงานในห้องสมุด.

ปักษคณนา

หมายถึง[ปักสะคะนะนา] น. วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์.

อุษณาการ

หมายถึง[อุดสะนา-] น. อาการเร่าร้อน. (ส. อุษฺณาการ; ป. อุณฺหาการ).

ข้าวต้อง

หมายถึงน. ต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกันว่าถูกผีกระทำ.

ลูกติดพัน

หมายถึงว. อาการที่เป็นไปต่อเนื่องโดยไม่เจตนาหรือยั้งไม่ทัน เช่น นักมวยเตะคู่ต่อสู้ที่กำลังล้มลงเป็นลูกติดพัน.

กวัดแกว่ง

หมายถึง[กฺวัดแกฺว่ง] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา เช่น กวัดแกว่งอาวุธ, ไม่อยู่ที่ เช่น จิตกวัดแกว่ง, แกว่งกวัด ก็ว่า.

กลฉ้อฉล

หมายถึง[กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).

อธิษฐาน

หมายถึง[อะทิดถาน, อะทิดสะถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. อธิฏฺาน).

ไพจิตร

หมายถึง[-จิด] ว. งาม; แตกต่าง, หลายหลาก. (ป. วิจิตฺร; ส. วิจิตฺร, ไวจิตฺรฺย).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ