ค้นเจอ 307 รายการ

เฉ่ง

หมายถึงก. ชำระเงินที่ได้เสียกัน, ชำระเงินที่ติดค้างกันอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ด่า ว่า หรือทำร้ายร่างกาย. (จ.).

ฐกัด

หมายถึง[ถะกัด] ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู. (ม. คำหลวง ชูชก).

ตุน

หมายถึงก. เก็บสะสมไว้ เช่น ซื้อของตุนไว้; เก็บหรือกักไว้เพื่อกันขาดแคลนหรือหวังกำไรในการค้า เช่น ตุนสินค้า, กักตุน ก็ว่า. (จ.).

ตุ๊ย

หมายถึงก. เอาหมัดกระแทกเอา. (จ.). น. เรียกตัวตลกที่ออกมาขัดจังหวะในการสวดคฤหัสถ์ว่า ตัวตุ๊ย.

กฏุก

หมายถึง[กะตุก] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).

ปัง

หมายถึงน. อาหารชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งผสมเชื้อ เรียกว่า ขนมปัง. (โปรตุเกส pâo, เทียบฝรั่งเศส ว่า pain).

จระลุง,จะลุง

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) น. เสาตะลุง, โบราณเขียนเป็น จรลุง หรือ จลุง ก็มี เช่น แท่นที่สถิตย์ จรลุงโสภิต พื้นฉลักฉลุทอง. (ดุษฎีสังเวย), จลุงอาศน์เบญพาศเกลี้ยงเกลา พเนกพนักน่าเนา จะนอนก็ศุขสบไถง. (ดุษฎีสังเวย).

ก๊ก

หมายถึงน. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).

จีนเต็ง

หมายถึงน. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทำการร่วมกันมาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรายาฝิ่น). (จ.).

จตุสดมภ์

หมายถึงน. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).

เกี๊ยว

หมายถึงน. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลีตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ห่อหมูสับเป็นต้น. (จ.).

ยามา

หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ