ค้นเจอ 213 รายการ

อังกุระ,อังกูร

หมายถึง[-กูน] น. หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย; มักใช้ อังกูร เป็นส่วนท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป., ส.).

โศกี

หมายถึงก. ร้องไห้ เช่น รู้ว่าผิดแล้วก็แก้ตัวใหม่ อย่ามัวแต่นั่งโศกาอยู่เลย.

ซิก,ซิก,ซิก ๆ

หมายถึงว. เรียกอาการที่เหงื่อไหลซึมออกมาตามตัวว่า เหงื่อไหลซิก; เรียกอาการที่ร้องไห้ค่อย ๆ ว่า ร้องไห้ซิก ๆ, กระซิก ๆ ก็ว่า.

กระลาพิม

หมายถึงน. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล).

ชื่อว่า

หมายถึงสัน. แม้ว่า, เรียกว่า, นับว่า, เช่น ชื่อว่าเรือนมึงงามดังเรือนท้าว. (ม. คำหลวง ชูชก).

โศกา

หมายถึงก. ร้องไห้ เช่น รู้ว่าผิดแล้วก็แก้ตัวใหม่ อย่ามัวแต่นั่งโศกาอยู่เลย.

อ้อยเข้าปากช้าง

หมายถึง(สำ) น. สิ่งหรือประโยชน์ที่ตกอยู่ในมือแล้วไม่ยอมคืน.

พิลาป

หมายถึงก. รํ่าไรรำพัน, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, บ่นเพ้อ. (ป., ส. วิลาป).

กาฬปักษี

หมายถึง[กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้วได้ ๕ เดือน ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับ สะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).

อรรธนิศา

หมายถึง[อัดทะนิสา] น. เวลาเที่ยงคืน. (ส.).

กล่า

หมายถึง[กฺล่า] (โบ; กลอน) ก. ควัก, แขวะ, แหวะ, เช่น อีกกรบอกหววมึงกูจะผ่า กูจะกล่าเอาขวนนหววมึงออกแล. (ม. คำหลวง ชูชก).

ปัจจุทธรณ์

หมายถึง[ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ