ค้นเจอ 2,748 รายการ

งะ

หมายถึง(โบ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง.

เหน็บ

หมายถึงก. พูดเสียดสีแคะไค้ เช่น เขาชอบมาเหน็บให้เจ็บใจ. ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้ ในคำว่า พูดเหน็บ.

ลื้อ

หมายถึง(ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).

ลิ้นลังกา

หมายถึงว. ที่พูดรัวเร็ว; (สำ) พูดพล่อย ๆ จนไม่น่าเชื่อถือ.

กะหนอกะแหน

หมายถึง[-หฺนอ-แหฺน] ว. เสียงพูดอย่างน่าเอ็นดูเหมือนเสียงเด็กพูด.

จ้อย,จ้อย,จ้อย ๆ

หมายถึงว. คล่อง, ไม่หยุดปาก, ในคำว่า พูดจ้อย หรือ พูดจ้อย ๆ.

เรา

หมายถึงสรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.

เป็น

หมายถึงก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.

ปฤจฉาสรรพนาม

หมายถึง(ไว) น. คำแทนชื่อที่เป็นคำถาม เช่นคำ “ใคร” ฯลฯ.

ลิ้นไก่สั้น

หมายถึงว. อาการที่พูดอ้อแอ้หรือพูดไม่ชัดอย่างคนเมาเหล้าเป็นต้น.

กระโชกโฮกฮาก

หมายถึงว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่งไม่น่าฟัง, โฮกฮาก ก็ว่า.

บุรุษ,บุรุษ-

หมายถึง[บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะที่สุภาพ; (ไว) คำบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คำบอกผู้ที่พูดด้วย เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คำบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ; ป. ปุริส).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ