ค้นเจอ 2,748 รายการ

แพะโลม

หมายถึงก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพละโลม หรือ แทะโลม ก็ว่า.

ปฤจฉาคุณศัพท์

หมายถึง(ไว) น. คำคุณศัพท์ที่เป็นคำถาม เช่นคำ “อะไร” ฯลฯ.

ทุเรศ

หมายถึง(ปาก) คำพูดแสดงความรู้สึกเมื่อประสบสิ่งที่ขัดหูขัดตาหรือเป็นที่น่าสมเพชเป็นต้น.

ข้าน้อย

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ถึงแก่มรณกรรม

หมายถึงก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรม หรือ ถึงมรณกรรม ก็ว่า.

ข้าเจ้า

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ช่วง

หมายถึงก. แย่ง, ชิง, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ ชิง เป็น ช่วงชิง หรือ ชิงช่วง.

กระซาบ

หมายถึง(กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคำเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.

อมพระมาพูด

หมายถึง(สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ.

รับสัมผัส

หมายถึงก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้าว่า คำรับสัมผัส.

พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. พูดห้วน ๆ.

เจ้าหล่อน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อยในบุรุษที่ ๓.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ