ค้นเจอ 228 รายการ

ดีนาคราช

หมายถึง[-นากคะ-] น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นเถามีเกล็ดคล้ายกับเกล็ดงู สำหรับใช้ทำยา. (พจน. ๒๔๙๓).

อัคนิ,อัคนี

หมายถึง[อักนิ, อักคะนิ, อักนี, อักคะนี] น. ไฟ; ชื่อเทพแห่งไฟ. (ส. อคฺนิ; ป. อคฺคิ).

มหรรฆ,มหรรฆ-

หมายถึง[มะหักคะ-] ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหรรฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก. (ส. มหารฺฆ; ป. มหคฺฆ).

องควิเกษป

หมายถึง[องคะวิกะเสบ] น. ท่าทาง, อาการเคลื่อนไหว. (ส. องฺควิเกฺษป; ป. องฺค + วิกฺเขป).

มาคสิร,มาคสิร-,มาคสิระ

หมายถึง[-คะสิระ] น. ชื่อดาวฤกษ์ที่ ๕; ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้าย ตกราวเดือนธันวาคม. (ป.).

มหัคฆ,มหัคฆ-

หมายถึง[มะหักคะ-] ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก. (ป. มหคฺฆ; ส. มหารฺฆ).

จตุรงคพล

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก.

กถามรรคเทศนา

หมายถึง[-มักคะเทดสะหฺนา] น. เทศนาฝ่ายกถามรรค, คู่กับ สุตตันตเทศนา. (ส. -เทศนา ว่า การแสดง).

ชาคริยานุโยค

หมายถึง[ชาคะริยานุโยก] น. การประกอบความเพียรเพื่อจะชำระใจให้หมดจดไม่เห็นแก่นอนมากนัก. (ป.; ส. ชาครฺยา + อนุโยค).

บุคคลสิทธิ

หมายถึง[บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.

ภวังค,ภวังค-,ภวังค์

หมายถึง[พะวังคะ-] น. ส่วนที่สืบต่อระหว่างปฏิสนธิกับจุติ มิได้เสวยอารมณ์ในทวารทั้ง ๖ มีจักษุทวารเป็นต้น. (ป.); ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว.

มฤคศิระ,มฤคเศียร,มิคสิระ

หมายถึง[มะรึกคะสิระ, มะรึกคะเสียน, มิคะสิระ, มิกคะสิระ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๕ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปหัวเต่า, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี ก็เรียก. (ส. มฺฤคศิรสฺ; ป. มิคสิร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ