ค้นเจอ 290 รายการ

หน้าเริด

หมายถึงว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มาแต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา, หน้าตั้ง ก็ว่า.

อาราม

หมายถึงว. มุ่งหมายอย่างรีบร้อน, พะวงที่จะทำการใด ๆ, ตั้งหน้าตั้งตา, ใช้นำหน้ากริยา เช่น อารามจะไปเลยลืมกระเป๋าสตางค์.

ได้

หมายถึงก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูก ได้แผล; ใช้ประกอบท้ายคำกริยา มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ความแวดล้อม คือ อาจ, สามารถ, เช่น เดินได้ เขียนได้; สำเร็จผล เช่น สอบได้; อนุญาต เช่น ลงมือกินได้ ไปได้; (ไว) คำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้กิน ได้ไป; เรียกเงินหรือสิ่งที่ได้มาว่า เงินได้ รายได้.

ประณต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ประนต เป็นคำที่เขียนผิด ❌

จุฑามณี

หมายถึงน. ปิ่น, ราชาศัพท์ว่า พระจุฑามณี; มวยผมของพระพุทธเจ้า; ชื่อพระธาตุเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ดาวดึงส์ เรียกว่า จุฑามณีเจดีย์, จุฬามณี ก็ว่า. (ส.; ป. จูฬามณี).

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

เป็น

หมายถึงก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

ผาด,ผาด ๆ

หมายถึงว. ผ่านหรือเคลื่อนไปเร็ว (มักใช้แก่กริยาเห็น), มองแต่เผิน ๆ ไม่ถี่ถ้วน, เช่น มองผาด เห็นผาด ๆ ดูผาด ๆ.

ค่อย,ค่อย,ค่อย ๆ,ค่อย ๆ

หมายถึงว. ใช้นำหน้ากริยาหมายความว่า ไม่รีบร้อน, อย่างระมัดระวัง, ช้า ๆ, เช่น ค่อยคิดค่อยทำ ค่อย ๆ เดิน.

นาภิ

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

โลเล

หมายถึงว. ไม่แน่นอน (มักใช้แก่นิสัยใจคอ) เช่น มีจิตใจโลเล, ไม่อยู่กับร่องกับรอย (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่นพูดจาโลเล.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ