ค้นเจอ 290 รายการ

นาม,นาม-

หมายถึง[นามมะ-] น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ สำหรับเรียกคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.).

หาไม่,หาไม่,หา ไม่,หา...ไม่

หมายถึงว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำกริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.

มับ

หมายถึงว. คำสำหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.

กำไล

หมายถึงน. ชื่อเครื่องประดับสำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทำด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกำไลมือว่า ทองพระกร กำไลเท้าว่า ทองพระบาท.

จง

หมายถึงเป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.

กริยาวิเศษณ์วลี

หมายถึง(ไว) น. ท่อนความที่มีคำกริยาวิเศษณ์ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี.

ต๋อม

หมายถึงว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า เงียบไป (ใช้แก่กริยาหาย ว่า หายต๋อม).

เถอะน่า

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.

อยู่

หมายถึง[หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.

กริยาวิเศษณานุประโยค

หมายถึง[-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก] (ไว) น. อนุประโยคที่ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.

ธาตุ

หมายถึง[ทาด] น. รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.

ขน

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ