ค้นเจอ 290 รายการ

เข้าให้

หมายถึงว. เน้นความเพื่อแสดงกริยาข้างหน้าให้มีนํ้าหนักขึ้นและเฉพาะเจาะจง เช่น ด่าเข้าให้ ชกเข้าให้.

เต็มคราบ

หมายถึง(ปาก) ว. เต็มแทบจะล้นกระเพาะ (ใช้แก่กริยากินหรืออิ่ม).

เสียแล้ว

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความเป็นอดีต เช่น ยังไม่ทันได้พูดคุยกันเลย เขาก็กลับไปเสียแล้ว.

เอกรรถประโยค

หมายถึง[เอกัดถะ-] น. ประโยคที่มีเนื้อความเดียว มีบทกริยาสำคัญเพียงบทเดียว.

จัณฑ,จัณฑ-,จัณฑ์

หมายถึง[จันทะ-, จัน] ว. ดุร้าย, หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ฉุน, ฉุนเฉียว; ราชาศัพท์ใช้เรียกสุราหรือเมรัยว่า นํ้าจัณฑ์. (ป., ส.).

เข่า

หมายถึงน. ส่วนที่ต่อระหว่างขาส่วนบนกับขาส่วนล่าง สำหรับคู้ขาเข้าและเหยียดขาออก เช่น คุกเข่า ตีเข่า ขึ้นเข่า, ราชาศัพท์ว่า พระชานุ.

ลายมือ

หมายถึงน. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลายมือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมีลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลายมือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึงจดหมายของเจ้านายด้วย.

ดรรชนี

หมายถึง[ดัดชะนี] น. นิ้วชี้, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดรรชนี, ดัชนี ก็ใช้. (ส. ตรฺชนี; ป. ตชฺชนี).

หว่านล้อม

หมายถึงว. ตะล่อมเข้ามาตามที่ต้องการ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดหว่านล้อม เจรจาหว่านล้อม.

เรียน

หมายถึงใช้เป็นคำประกอบหน้ากริยาอื่นเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เรียนถาม เรียนเชิญ.

กลับกลอก

หมายถึงก. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดจากลับกลอก, กลอกกลับ ก็ว่า.

อาด,อาด ๆ

หมายถึงว. อย่างผึ่งผาย (ใช้แก่กริยาเดิน) เช่นเดินส่ายอาด เดินอาด ๆ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ