ค้นเจอ 183 รายการ

ยัก

หมายถึง(ปาก) ว. คำประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา.

ลาดเลา

หมายถึงน. ลู่ทาง, เค้าเงื่อน, (มักใช้แก่กริยาดู) เช่น ตำรวจดูลาดเลาก่อนจับการพนัน.

เสียได้

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความผิดหวังเป็นต้น เช่น ตั้งใจมาหาเพื่อนทั้งที กลับไม่อยู่เสียได้.

จัก

หมายถึง(ไว) คำช่วยกริยาบอกกาลภายหน้า แสดงเจตจำนง เช่น จักกิน จักนอน.

เถิดน่า

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถิดน่า, เถอะน่า ก็ว่า.

เสียซิ,เสียซี

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงคำสั่งหรือแนะนำเป็นต้น เช่น กินเสียซิ ไปเสียซี.

บาดหู

หมายถึงก. ขัดหู, ระคายหู, ทำให้ไม่สบอารมณ์, (ใช้แก่คำพูดหรือกริยาพูด).

เหอะน่า

หมายถึง(ปาก) เถอะน่า, คำประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น, เฮอะน่า ก็ว่า.

ใส่คะแนนไม่ทัน

หมายถึง(ปาก) ว. เร็วมาก, คล่องมาก, (ใช้แก่กริยาพูด), เช่น เธอพูดเร็วมากจนใส่คะแนนไม่ทัน.

เสีย

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.

กริยาวิเศษณ์

หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.

เอา

หมายถึงก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นำ, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทำเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสำคัญ เช่น เจรจาเอาถ้อยคำ เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คำใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคำได้. ว. เมื่อใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทำต่อเนื่องกัน เช่น กินเอา ๆ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ