ค้นเจอ 183 รายการ

วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์

หมายถึง[วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).

พึ่ง

หมายถึงว. คำช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่ง ก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.

มิด

หมายถึงว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.

อาจ

หมายถึงว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคำช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีกสิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.

เทียว

หมายถึงว. คำที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มีความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็นมาหาบ้างเลย.

ไว้

หมายถึงก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้นแหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคำเพื่อให้ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดำรงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.

วาจก

หมายถึงน. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นผู้ทำ ผู้ใช้ ผู้ถูกทำ หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจก และการิตวาจก. (ป., ส.).

อุปสรรค

หมายถึง[อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่องขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.

กรรตุการก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).

ถูก

หมายถึงก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วยแสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทำ (มักใช้ในข้อความที่ทำให้ผู้ถูกทำเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ.

มา

หมายถึงก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคำกริยาแสดงอดีต เช่น นานมาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.

แดก

หมายถึงก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เรียกว่า ลมแดกขึ้น; (ปาก) กิน, กินอย่างเกินขนาด, (ใช้ในลักษณะที่ถือว่าไม่สุภาพ), โดยปริยายใช้แทนกริยาอย่างอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; พูดกระทบให้โกรธ โดยยกเอาสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบขึ้นมาย้อนเปรียบเทียบ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ