ค้นเจอ 92 รายการ

กรรมวิบาก

หมายถึง[กำมะวิบาก] น. ผลของกรรม. (ส. กรฺม + วิปาก = ผล; ป. กมฺม + วิปาก).

วินิบาต

หมายถึงน. การทำลาย, การฆ่า, เช่น วินิบาตกรรม; ภพที่ต้องโทษ, ภพที่รับทุกข์, เช่น ทุคติวินิบาต. (ป., ส.).

รับบาป

หมายถึงก. รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น, รับความผิดหรือโทษทัณฑ์แทนผู้ที่ทำความผิด.

ภูมิศาสตร์การเกษตร

หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการกสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ และการประมง.

อกรรมกริยา

หมายถึง[อะกำกฺริยา, อะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).

ปริวาส

หมายถึง[ปะริวาด] น. การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; ชื่อกรรมที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. (ป.).

วัวใครเข้าคอกคนนั้น

หมายถึง(สำ) น. กรรมที่มีผู้ใดทำไว้ย่อมส่งผลให้แก่ผู้นั้น ดุจวัวที่กลับเข้าคอกของมันเอง.

อยู่กรรม,อยู่ปริวาส

หมายถึงก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้าปฏิวาสกรรม ก็ว่า.

นิคหกรรม

หมายถึงน. ชื่อกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).

กรรมบถ

หมายถึง[กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง ตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ. (ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).

กรรมชรูป

หมายถึง[กำมะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).

กรรตุการก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ