ค้นเจอ 33 รายการ

กรรมวาจก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.

กรรมวาจา

หมายถึง[กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (ส. กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา).

กรรมาธิการ

หมายถึง[กำ-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.

กรรมวิบาก

หมายถึง[กำมะวิบาก] น. ผลของกรรม. (ส. กรฺม + วิปาก = ผล; ป. กมฺม + วิปาก).

กรรมัชวาต

หมายถึง[กำมัดชะ-] ดู กรรมชวาต

กรรมการก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.

กรรมชวาต

หมายถึง[กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).

กรรมฐาน

หมายถึง[กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺาน).

กรรมพันธุ์

หมายถึง[กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

กรรมศาลา

หมายถึง[กำมะ-] น. โรงงาน. (ส. กรฺม + ศาลา = โรง).

กรรมสัมปาทิก

หมายถึง[กำมะสำปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ