ค้นเจอ 187 รายการ

กระทอก

หมายถึงก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กำแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. (ขุนช้างขุนแผน). (เทียบมลายู กระตอก ว่า ตอก).

เรือต่อ

หมายถึงน. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วน เช่น เรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ.

มีดบังตอ

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดมีดแบนเรียว ปลายแหลมคล้ายใบข้าว มีคม ๒ ด้าน ด้ามสั้นพอกำ ใช้แทงหรือฉลุหยวกกล้วยทำเป็นลวดลายในงานเครื่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันหนาและแอ่นโค้ง ด้ามทำด้วยไม้ขนาดสั้นพอมือกำ ใช้สับเนื้อและกระดูกหมูเป็นต้น.

ครุกรรม

หมายถึง[คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.

กรรมการ

หมายถึง[กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).

กำสรวล

หมายถึง[-สวน] (แบบ) ก. โศกเศร้า, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (โบ กำสรวญ).

ประติมากรรม

หมายถึง[ปฺระติมากำ] น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ. (ส. ปฺรติมา + กรฺม; ป. ปฏิมา + กมฺม).

วิศวกรรมศาสตร์

หมายถึง[วิดสะวะกำมะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล. (อ. engineering).

ดูดำ

หมายถึง(โบ) ก. ดูหมิ่น เช่น เปนม่ายชายดูดำ กุมเกษ กำแก้ผม ผลักล้มจมดินทราย แสร้งอวยอายอยดยศ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

บัพพาชนียกรรม

หมายถึง[บับพาชะนียะกำ] น. กรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่, พิธีขับไล่บุคคลที่พึงขับไล่. (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

บริกรรม

หมายถึง[บอริกำ] ก. สำรวมใจสวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจร่ายมนตร์หรือเสกคาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).

วิสามัญฆาตกรรม

หมายถึง[วิสามันคาดตะกำ] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ