ค้นเจอ 311 รายการ

ภฤดก

หมายถึง[พฺรึ-] น. ลูกจ้าง. (ส. ภฺฤตก; ป. ภตก).

ภฤศ

หมายถึง[พฺรึด] ว. มาก, กล้า, จัด. (ส. ภฺฤศมฺ; ป. ภุส).

มธุตฤณ

หมายถึง[-ตฺริน] น. อ้อย. (ส.).

มฤคทายวัน

หมายถึง[มะรึกคะทายะ-, มะรึกคะทายยะ-] น. ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา; ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ. (ป. มิคทายวน; ส. มฺฤค + ทาย + วน).

มฤคศิรมาส

หมายถึงน. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์มฤคศิระ คือ เดือนอ้าย ตกในราวเดือนธันวาคม.

มฤจฉาชีพ

หมายถึงน. มิจฉาชีพ, การเลี้ยงชีวิตผิดทาง.

มหุดิฤกษ์

หมายถึงน. ฤกษ์ดี, ยามดี.

มาตราพฤติ

หมายถึงน. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.

มาตฤกะ

หมายถึง[-ตฺริกะ] ว. มาจากแม่หรือเกี่ยวกับแม่, ข้างแม่, ฝ่ายแม่. (ส.).

กฤด,กฤด-

หมายถึง[กฺริดะ-] (แบบ) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. (ส. กฺฤต; ป. กต).

กฤดา,กฤดาการ

หมายถึง[กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).

กฤษฎีกา

หมายถึง[กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ