ค้นเจอ 311 รายการ

วัสสานฤดู

หมายถึง[วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).

สฤต

หมายถึง[สฺริด] ก. ผ่านไป, พ้นไป, ล่วงไป. (ส.).

สันสกฤต

หมายถึง[-สะกฺริด] น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดีย-ยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดีอินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดีของพราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่า สังสกฤต ก็มี. ว. ที่ทำให้ดีพร้อมแล้ว, ที่ทำให้ประณีตแล้ว, ที่ขัดเกลาแล้ว. (ส. สํสฺกฤต; ป. สกฺกฏ).

สิ้นฤทธิ์

หมายถึงก. หมดฤทธิ์ เช่น เสือโคร่งพอถูกยิงด้วยลูกดอกยาสลบก็สิ้นฤทธิ์, หมดพยศ เช่น เด็กทำฤทธิ์ไม่ยอมกินข้าว พอหิวก็สิ้นฤทธิ์ จึงยอมกินแต่โดยดี.

สีตลหฤทัย

หมายถึงว. มีใจเยือกเย็น.

พยาลมฤค

หมายถึง[พะยาละมะรึก] น. สัตว์ร้าย. (ส. วฺยาลมฺฤค; ป. วาฬมิค).

พระราชกฤษฎีกา

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.

พฤกษ,พฤกษ-,พฤกษ์,พฤกษ์

หมายถึง[พฺรึกสะ-, พฺรึก] น. ต้นไม้. (ส. วฺฤกฺษ; ป. รุกฺข).

พฤกษเทวดา

หมายถึงน. เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้. (ส.).

พฤฒ,พฤฒา

หมายถึง[พฺรึด, พฺรึดทา] ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, พฤทธ์ ก็ว่า. (ส.).

พฤฒาจารย์

หมายถึงน. อาจารย์ผู้เฒ่า, พราหมณ์ผู้เฒ่า.

พฤนต์

หมายถึง[พฺรึน] น. ก้าน, ขั้ว. (ส. วฺฤนฺต; ป. วณฺฏ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ