ค้นเจอ 139 รายการ

ยศ

หมายถึง[ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูงต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกำหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).

ลูกไฟ

หมายถึงน. ส่วนที่แยกออกจากวัตถุกำลังลุกเป็นไฟแล้วกระเด็นหรือกระจายออกไปเป็นดวงไฟน้อย ๆ จำนวนมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ลูกไฟพะเนียง ลูกไฟจากปล่องเรือโยง ลูกไฟจากเตาถ่าน.

ตุ๊กตาล้มลุก

หมายถึงน. ตุ๊กตาไม่มีขา ฐานโค้ง มีโลหะถ่วงอยู่ข้างในฐานเมื่อผลักให้ล้มแล้วจะกลับตั้งขึ้นมาได้เอง, โดยปริยายหมายถึงคนเจ็บไข้ที่ไม่ค่อยมีกำลังวังชา ประเดี๋ยวล้มนอน ประเดี๋ยวลุกนั่ง.

ภาษาแบบแผน

หมายถึงน. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

หมายถึงน. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด.

ลงท้าย

หมายถึงก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้ายก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.

จังหวะ

หมายถึงน. ระยะที่สมํ่าเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. (ข. จงวาก่).

หมอบ

หมายถึง[หฺมอบ] ก. กิริยาที่คู้เข่าลงและยอบตัวให้ท่อนแขนส่วนล่างราบอยู่กับพื้น, ยอบตัวลงในอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; (ปาก) สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง, ลุกไม่ขึ้น, เช่น ถูกตีเสียหมอบ เป็นไข้เสียหมอบ.

กรุ่น

หมายถึง[กฺรุ่น] ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น; ยังไม่ดับสนิท, ร้อนรุ่มอยู่ภายใน, เช่น โกรธกรุ่น.

ธงราชินีน้อย

หมายถึง(กฎ) น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงราชินีใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ.

กรพินธุ์

หมายถึง[กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คำหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).

ล้มลุกคลุกคลาน

หมายถึงก. หกล้มหกลุก เช่น ฝนตกหนักถนนเป็นโคลน เขาต้องวิ่งหนีฝนล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง สะดุดตอไม้ล้มลุกคลุกคลาน, โดยปริยายหมายความว่า ซวดเซ, ไม่มั่นคง, ตั้งตัวไม่ติด, เช่น ชีวิตของเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลา เขาล้มลุกคลุกคลานมาหลายปีกว่าจะตั้งตัวได้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ