ค้นเจอ 138 รายการ

เคล้า

หมายถึง[เคฺล้า] ก. ใช้มือเป็นต้นคนเบา ๆ ให้ทั่ว เช่น เคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากันในการทำอาหาร; คลอเคลีย เช่น เคล้าแข้งเคล้าขา, เกลือก เช่น แมลงภู่เคล้าเกสรดอกไม้.

สนิมสร้อย

หมายถึง[สะหฺนิมส้อย] ว. ถนิมสร้อย, หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ), เช่น ดุว่านิดหน่อยก็น้ำตาร่วง ทำเป็นแม่สนิมสร้อยไปได้.

คลึง

หมายถึง[คฺลึง] ก. ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเบา ๆ แล้วเคลื่อนมือหมุนไปมา เพื่อให้กลมหรือให้เรียบเป็นต้น, อาการที่ทำเช่นนั้นด้วยสิ่งอื่น เช่น คลึงด้วยลูกประคบ.

ทวาร,ทวาร-

หมายถึง[ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคำ เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคำสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).

เบามือ,เบาไม้เบามือ

หมายถึงก. ทำเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทำไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทำงานมาก. ว. ที่ออกแรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.

ตบ

หมายถึงก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส, เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก.

เครื่องห้า

หมายถึงน. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สำหรับการแสดงละครและหนังในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สำหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบด้วย เครื่องทำลำนำ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.

กระหมิบ

หมายถึงก. ทำปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.

อภัยโทษ

หมายถึง[อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.

ฝัด

หมายถึงก. อาการที่แยกของเบาออกจากของหนักโดยกระดกภาชนะเช่นกระด้งขึ้น ๆ ลง ๆ ค่อนข้างเร็ว เพื่อสะบัดแกลบ รำ หรือผงออกจากข้าวเป็นต้น. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้วว่า กุ้งฝัด, กุ้งฟัด ก็ว่า.

ลหุกาบัติ

หมายถึง[ละหุกาบัด] น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้องบอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. (ป. ลหุกาปตฺติ).

หย่อน

หมายถึงก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกำลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ