ค้นเจอ 159 รายการ

เนติบัณฑิต

หมายถึงน. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสำนักศึกษาอบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา.

ทดสอบ

หมายถึงก. ตรวจสอบเพื่อความถูกต้องแน่นอน เช่น ทดสอบเครื่องยนต์; (การศึกษา) สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ทดสอบความรู้ของนักเรียนด้วยการให้ลองปฏิบัติ.

วิทยุสมัครเล่น

หมายถึงน. วิทยุคมนาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิทยุสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายศึกษาหาความรู้ให้ตนเองโดยไม่มีวัตถุประสงค์ในทางพาณิชย์.

หน่วยกิต

หมายถึง[-กิด] น. ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษาและนักเรียนจะพึงได้รับเมื่อได้ศึกษาตรงตามกำหนดเวลาและสอบผ่านวิชานั้น ๆ, เครดิต ก็เรียก.

จิตเวชศาสตร์

หมายถึง[จิดตะเวดชะ-] น. วิชาแพทย์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาการตรวจรักษาและป้องกันโรคของจิตใจ เช่น โรคประสาท โรคจิต. (อ. psychiatry).

วิทยานิพนธ์

หมายถึงน. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.

นิสิต

หมายถึงน. ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสำนัก, ผู้อาศัย. (ป. นิสฺสิต).

อุทกวิทยา

หมายถึงน. วิชาว่าด้วยนํ้าที่มีอยู่ในโลก เช่น ศึกษาถึงสาเหตุการเกิด การหมุนเวียน ตลอดจนคุณลักษณะของนํ้า รวมทั้งการนำนํ้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์. (ป., ส. อุทก + ส. วิทฺยา).

ประชากรศาสตร์

หมายถึงน. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.

สำเร็จ

หมายถึงก. เสร็จ เช่น สำเร็จการศึกษา; ถึง, บรรลุ, เช่น สำเร็จโสดา. ว. ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น เครื่องแกงสำเร็จ, ได้ผลสมประสงค์ เช่น วางแผนการขายสินค้าได้สำเร็จ.

ศิษย,ศิษย-,ศิษย์

หมายถึง[สิดสะยะ-, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้วนับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).

มหาวิทยาลัย

หมายถึง[มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งดำเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ