ค้นเจอ 207 รายการ

สูสี

หมายถึงก. เกี่ยวพัน, ข้องแวะ, เช่น อย่าไปสูสีกับคนพาล; ไล่เลี่ย, พอ ๆ กัน, เช่น ฝีมือของ ๒ คนนี้สูสีกัน สอบได้คะแนนสูสีกัน.

เสียการเสียงาน

หมายถึง(สำ) ก. ทำให้งานที่มุ่งหวังไว้บกพร่องหรือเสียหาย เช่น อยากจะไปเที่ยวก็ไม่ว่า แต่อย่าให้เสียการเสียงาน, เสียงานเสียการ ก็ว่า.

ซรอกซรัง

หมายถึง[ซฺรอกซฺรัง] (แบบ) ก. ซุกซ่อน, ซ่อนเร้น, เช่น อย่าทันเห็นแม่ออก ชีสู่ซรอกซรังไป. (ม. คำหลวง กุมาร), ซอกซัง ก็ว่า.

สงบปากสงบคำ

หมายถึงก. นิ่ง, ไม่พูด, เช่น เขาเป็นคนสงบปากสงบคำ, ไม่โต้เถียง เช่น สงบปากสงบคำเสียบ้าง อย่าไปต่อล้อต่อเถียงเขาเลย.

ส้น

หมายถึงน. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.

เร่งเร้า

หมายถึงก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะแต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือก่อนที่พืชผลจะเสียหาย.

เสียธรรมเนียม

หมายถึงก. ผิดไปจากแบบแผนที่เคยปฏิบัติกันมา เช่น เมื่อเวลาไปไหว้พระควรมีดอกไม้ธูปเทียนไปด้วย อย่าให้เสียธรรมเนียม.

ยาไฉน

หมายถึง[-ฉะไหฺน] (กลอน) ก. อย่าได้สงสัย, ไม่ต้องสงสัย, เช่น พิศบ่พรรับโอ้อ้า เทพไสร้ยาไฉน. (ลอ).

เลือดตกยางออก

หมายถึงก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึงเลือดตกยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือดตกยางออกเลย.

บังเหตุ

หมายถึง(โบ) ก. ประมาท เช่น บังเหตุดูถูก. (ข. บฺรเหส); ทำให้เป็นเหตุ, บันดาลเหตุ, เช่น ใบก็บังเหตุร่วงประจักษ์ตา. (ขุนช้างขุนแผน).

โวหาร

หมายถึงน. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).

ชระลั่ง

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คำหลวง กุมาร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ